บทความของฟอนต์
( Font )
ในยุคที่คอมพิวเตอร์เติบโตและมีผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่าง รวมไปถึงการใช้ตัวอักษร
ความสำคัญของฟอนต์
เราสามารถเห็นตัวอักษรแสดงอยู่ในเกือบทุกๆสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเอกสารงานนำเสนอ หนังสือ โปรเตอร์ สินค้า บรรจุภัณฑ์ สื่อโฆษณา เว็บไซต์ และอื่นๆ อีกมากมาย ตัวอักษรบนสิ่งเหล่านี้มีจุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องการสื่อความหมายให้ผู้ที่พบเห็นได้รับรู้ แต่แค่การสื่อความหมายอย่างเดียวคงยังไม่พอโดยเฉพาะในปัจจุบันที่ผู้คนมีตัวเลือกในการใช้บริการ หรือเข้าถึงสื่อได้หลากหลายช่องทาง
เราสามารถเห็นตัวอักษรแสดงอยู่ในเกือบทุกๆสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเอกสารงานนำเสนอ หนังสือ โปรเตอร์ สินค้า บรรจุภัณฑ์ สื่อโฆษณา เว็บไซต์ และอื่นๆ อีกมากมาย ตัวอักษรบนสิ่งเหล่านี้มีจุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องการสื่อความหมายให้ผู้ที่พบเห็นได้รับรู้ แต่แค่การสื่อความหมายอย่างเดียวคงยังไม่พอโดยเฉพาะในปัจจุบันที่ผู้คนมีตัวเลือกในการใช้บริการ หรือเข้าถึงสื่อได้หลากหลายช่องทาง
ฟอนต์ก็เช่นเดียวกัน
เพราะต้องทำหน้าที่เป็นสื่อให้ผู้อ่านอ่านและเข้าใจ
และเมื่อพิมพ์ออกมาแล้วต้องมีความสวยงามและสอดคล้องกับเนื้อหา
อีกทั้งฟอนต์ที่ดีต้องช่วยเสริมพลังให้กับความหมายที่ต้องการส่งออกไปด้วย
มูลค่าและลิขสิทธิ์ของฟอนต์
เป็นเรื่องมีประเด็นปัญหาระหว่างผู้ใช้ฟอนต์กับผู้สร้างสรรค์ฟอนต์มากที่สุด เพราะความเข้าใจที่ผิดหลายๆ ประการทำให้ผู้ใช้หลงใช้ฟอนต์แบบผิดลิขสิทธิ์โดยที่บางครั้งก็อาจไม่ได้ตั้งใจหลายคนมีความเข้าใจว่า ตัวอักษรไทยเป็นสมบัติของชาติที่คนไทยทุกคนล้วนเป็นเจ้าของ ดังนั้น ฟอนต์จึงเป็นสมบัติของชาติที่ทุกคนล้วนเป็นเจ้าของเช่นเดียวกัน สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ผิดลิขสิทธิ์ ความเข้าใจนี้ถูกต้องเฉพาะในส่วนที่ว่าตัวอักษรไทยเป็นสมบัติของชาติที่คนไทยทุกคนล้วนเป็นเจ้าของ แต่ฟอนต์ไม่ใช่ประกอบด้วยตัวอักษรเพียงอย่างเดียวยังประกอบไปด้วยการออกแบบด้วยการออกแบบลักษณะ การเว้นระยะ และชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ต่างๆ มากมายเพื่อให้ฟอนต์ที่ออกมาสามารถนำมาใช้งานได้และสวยงาม ซึ่งขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ด้วยอาศัยเวลา รวมทั้งความรู้ความสามารถของผู้สร้างสรรค์เป็นอย่างมาก ดังนั้น ฟอนต์จึงเป็นสิ่งที่มีลิขสิทธิ์ และเราควรตระหนักถึงความสำคัญของลิขสิทธิ์เหล่านี้ เพื่อให้ผู้สร้างสรรค์มีกำลังใจและทุนทรัพย์ในการพัฒนาฟอนต์แบบใหม่ๆต่อไป
รูปแบบและบุคลิกของตัวอักษร ( Letterform and Personality) ตัวอักษรแต่ละแบบนั้นมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ฟอนต์บางชนิดมีลักษณะที่อ่านง่ายเหมาะที่จะนำมาใช้เป็นส่วนของเนื้อหา ( body text ) ขณะที่ฟอนต์บางชนิดนั้นเด่นชัด สะดุดตา จึงเหมาะที่จะนำไปใช้เป็นข้อหัว ( headline text ) หรือข้อความสำคัญที่ต้องการเน้น ( emphasis text ) นอกเหนือจากนั้น ฟอนต์แต่ละชนิดก็มีบุคลิกที่แตกต่างกัน ฟอนต์บางชนิดดูเป็นทางการ ให้ความรู้สึกของฟอนต์ถึงอำนาจหน้าที่ ขณะที่ฟอนต์อื่นอาจดูสบายๆไม่เคร่งครัดนัก การเลือกใช้ฟอนต์จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง
การออกแบบฟอนต์ขึ้นมาใหม่ แตกต่างจากการออกแบบฟอนต์ลายมือในส่วนที่ต้องอาศัยการวาดตัวอักษรผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่าง Illustrator หรือ Fontlab โดยตรง ขั้นตอนแรกของการออกแบบฟอนต์คือ การตั้ง Concept นั่นเอง ซึ่ง Concept ก็เหมือนเป็นจุดยืนว่าต้องการให้ตัวอักษรออกมามีลักษณะแบบใด ตรงกับจุดมุ่งหมายที่เราต้องการนำไปใช้หรือไม่ เช่น ต้องการทำฟอนต์สำหรับเด็กควรตั้ง Concept ให้อ่านง่าย ตัวอักษรไม่ใส่ลูกเล่นซับซ้อนมากเกินไป มีความโค้งมน และดูสดใสเหมาะกับวัยเด็ก เป็นต้น ซึ่งหากเราไม่ได้ตั้ง Concept ที่แน่นอน ตัวอักษรที่ถูกวาดขึ้นย่อมออกมาสะเปะสะปะไร้ทิศทางนั่นเอง เมื่อตั้ง Concept ได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การวาดแบบร่างตัวอักษร หรือที่เรียกว่าสเกตซ์ตัวอักษร ( Sketch ) ขึ้นมาคร่าวๆ ซึ่งจะช่วยให้เรามองเห็นภาพร่างและภาพรวมของตัวอักษรได้ ซึ่งการสเกตซ์ตัวอักษรไว้ก่อนนำไปวาดจริงจะช่วยประหยัดเวลามากกว่าการคิดแบบไปพร้อมๆกับวาดในโปรแกรม อีกทั้งการสเกตซ์จะช่วยให้เราจดจ่อกับรูปลักษณ์ของตัวอักษรได้มากขึ้นอีกด้วย ส่วน
ความหมายของงานอักษรตามนิยามนั้นหมายถึง “ สัญลักษณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสารจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหรืออีกกลุ่มหนึ่ง ” ส่วนไทโปกราฟี ( Typography ) จะหมายถึงตัวพิมพ์ การจัดเรียง การพิมพ์ โดยที่จะมีการใช้ศิลปะในการพิมพ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นในความหมายของงานตัวอักษรตามหนังสือเล่มนี้ คือการใช้ศิลปะในการจัดเรียงตัวอักษรให้มีความสวยงาม น่าสนใจและยังคงไว้ซึ่งความหมายที่ต้องการจะสื่ออย่างครบถ้วน
การใช้เทคนิคการจัดเรียงตัวอักษรนอกเหนือจากการที่ผู้อ่านได้รับทราบถึงความหมายแล้ว
ยังเป็นการเร้าให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในตัวสื่อ ซึ่งในบางครั้งสิ่งนี้มีความสำคัญมากกว่าสารที่อยู่ในสื่อนั้นๆเสียอีก
หากเปรียบเทียบระหว่างสื่อกับอาหาร 2 จานที่เป็นเมนูเดียวกัน
กินแล้วอิ่มท้องเหมือนๆกัน แต่จานที่ได้รับการปรุงตกแต่งให้ดูสวยงาม ย่อมทำให้ผู้ทานรู้สึกอร่อยและมีความสุขมากกว่าเป็นไหนๆ
งานอักษรก็เช่นเดียวกัน เอกสาร 2 ฉบับ ที่มีเนื้อความเหมือนกัน
อ่านแล้วเข้าใจได้เหมือนๆกัน แต่เอกสารที่ผ่านการเลือกใช้ตัวอักษรอย่างเหมาะสม
จัดวางตำแหน่งอย่างสวยงาม
ย่อมดึงดูดสายตาผู้อ่านได้มาจดจ่อและเพลิดเพลินไปกับการอ่านตั้งแต่ต้นจนจบอย่างสมบูรณ์
ลักษณะของงานอักษรในปัจจุบัน
งานอักษรในปัจจุบันมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมากกว่าแต่ก่อน
เนื่องจากประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ที่สูงขึ้น
ประกอบกับซอฟต์แวร์ช่วยอำนวยความสะดวกรวมทั้งระบบอินเทอร์เน็ตที่ช่วยในการหาข้อมูลหรือไอเดียใหม่ๆทำได้โดยง่าย
สิ่งต่างๆเหล่านี้เองที่ช่วยเสริมให้เราสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ดังใจ
และประหยัดเวลาทำงานลงไปได้อีกมาก
หน้าสืออ้างอิง
จุติพงศ์ ภูสุมาศ. (2556). The Principles of Typography พื้นฐานการใช้งานตัวอักษร. นนทบุรี: ไอดีซีฯ.
ธวัชชัย ศรีสุเทพ. (2549).ฟอนต์ไหนดี ?. กรุงเทพมหานคร: มาร์คมายเว็บ.
สรุปเนื้อหาโดย
นางสาว สุกัญญา มาตผล
รหัสนักศึกษา 5611310615
กลุ่มเรียน 101
E-mail
: sukanyam2558@gmail.com
Publish
: http://artd2304-sukanya.blogspot.com
รายงานวิชา ARTD2304
การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์
No comments:
Post a Comment