Sunday, April 5, 2015

1 - 3 เมษายน Gift on the Moon Freshmart ArtD 2557

กลุ่ม กะเป๋าผ้าลายสกรีนตัวอักษร
TYPE STYLE



         
               เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางศิลปกรรมประจำปี 2557 งาน Gift on the moon 2014 Freshmart ArtD ของสาขาวิชาศิลปกรรมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรกษมณ บริเวณหน้าอาคาร 28 หน้าหอส้มตำในวันที่ 1 เมษายน 2558 เป็นการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และผลงานที่เกิดจากการบูรณาการการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แต่ละชั้นปี ศาสตร์สาระของหลักสูตรวิชาศิลปกรรมและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสัปดาห์มนุษยวิชาการประจำปี การศึกษา 2557 ระยะเวลาจัดงาน 3 วัน

Thursday, February 19, 2015

สรุปการเรียนครั้งที่ 6 (10/02/58)

          ให้เช็คดูช่องเว้น ช่องห่างระหว่างตัวอักษร ตำแหน่งการจัดวาง ให้ห่างกันพอสมควรทุกตัว และส่วนตัวฟอนต์ วรรณยุกต่างๆ จะมีหลายขนาด ความสูง option1-4 > บ่ ป่ ปั้น ปุ อ.บอกรายละเอียดการใช้ โปรแกรม font creator และบอกวิธีเบื้องต้นให้และให้นำวิธีการทำมาลงในบล้อคของตัวเราเองด้วย

การบ้าน
อ.ให้ทำฟอนต์ของตัวเอง 1 ชุด กับ ฟอนต์ของเพื่อนอีก 1 ชุด รวมเป็น 2 ชุดทั้งหมด
และให้ออกแบบโลโก้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 2 โลโกทั้งแบบภาษาไทยกับภาษาอังกฤษและเข็มกลัดที่ระลึกของมหาลัยอีก1แบบด้วย




......................................



Tuesday, February 3, 2015

การสร้างชุดฟอนต์ตระกูล : CRU-Sukanya 58



ขั้นตอนที่ 1 เปิดโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 ขึ้นมาก่อน




 ภาพที่ 1 แสดงภาพหน้าตาของโปรแกรม Adobe Photoshop CS6

ที่มา นางสาว สุกัญญา มาตผล , 2558




ขั้นตอนที่ 2  คลิ๊กเข้าไปที่ Open เพื่อหาไฟล์แบบร่างที่เราสแกนลงเครื่องไว้เรียบร้อยแล้ว 



 ภาพที่ 2

ที่มา นางสาว สุกัญญา มาตผล , 2558




ขั้นตอนที่ 3  เปิดแบบสแกนของเราขึ้นมา



 ภาพที่ 3 

ที่มา นางสาว สุกัญญา มาตผล , 2558





ขั้นตอนที่ 4 ต่อไปก็ใช้เครื่องมือ Rectangular marquee tool หรือกด M คีย์ลัดก็ได้ เพื่อมาครอบตัวอักษรของเราไปใส่โปรแกรม  FontCreator Pro 8.0.0 โดยการ Ctrl + C เพื่อคัดลอก



ภาพที่  4  แสดงภาพเครื่องมือของ  Rectangular marquee tool 



ภาพที่ 5 แสดงภาพในการครอบตัวอักษร

ที่มา นางสาว สุกัญญา มาตผล , 2558





ขั้นตอนที่ 5 เปิด  FontCreator Pro 8.0.0 ขึ้นมา



ภาพที่ 6 แสดงภาพหน้าตาของโปรแกรม FontCreator Pro 8.0.0

ที่มา นางสาว สุกัญญา มาตผล , 2558




ขั้นตอนที่ 6  คลิ๊กไปที่ File > Open > Installed Font หรือกด Ctrl+I คีย์ลัดก็ได้ เพื่อนำรูปแบบฟอนต์ที่เราต้องการมาดัดแปลง




ภาพที่ 7 แสดงภาพเครื่องมือ  Installed Font 



ภาพที่ 8  แสดงภาพรูปแบบฟอนต์ต่างๆ

ที่มา นางสาว สุกัญญา มาตผล , 2558




ขั้นตอนที่ 7  นำแบบตัวอักษรที่เราครอบไว้จากขั้นตอนที่ 4 มาวาง กด ( Ctrl + V ) คีย์ลัด ทับลงรูปแบบฟอนต์ตัวเดิมไว้
และดัดแปลงตัวอักษรของเราให้อยู่ในสัดส่วนตามความเหมาะสมให้ครบทุกตัว




ภาพที่ 9 

ที่มา นางสาว สุกัญญา มาตผล , 2558



ขั้นตอนที่ 8 การจัดวางช่องไฟ หน้า - หลัง โดยคลิ๊กขวา แล้วเลือก Glyph Properties 





ภาพที่ 10 

ที่มา นางสาว สุกัญญา มาตผล , 2558





ขั้นตอนที่  9 เมื่อเราจัดวางช่องไฟ หน้า - หลัง ครบทุกตัวเรียบร้อยแล้ว ให้ไปคลิ๊ก ที่ Font > Test  หรือกด ( F5 ) คีย์ลัดก็ได้ เพื่อทดสอบการพิมพ์ ตรวจดูระยะช่องไฟของแต่ละตัวอักษรให้สมบูรณ์





ภาพที่ 10 แสดงภาพการ Test ทดสอบการพิมพ์ตัวอักษร

ที่มา นางสาว สุกัญญา มาตผล , 2558



ภาพที่ 11 แสดงภาพการ Test ทดสอบการพิมพ์ตัวอักษร

ที่มา นางสาว สุกัญญา มาตผล , 2558


ขั้นตอนที่ 10  เมื่อเราได้ฟอนต์ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วให้ไปที่ File Save Project หรือกด Ctrl + S คีย์ลัดก็ได้ให้เป็นไฟล์ Font Creator Project  (*, fcp ) สามารถแก้ไขภายหลังได้ 
ส่วน Expot Font > Expot TrueTpye / OpenTypeFont หรือกด ( Shift+Ctrl+E ) เพื่อ Save เป็นไฟล์ (.ttf )
สามารถนำไปใช้งานได้เลย





ภาพที่ 12 แสดงภาพการ Save Project  เป็นไฟล์  (*, fcp )



ภาพที่ 13 แสดงภาพการ Expot Font เป็นไฟล์  (.ttf )

ที่มา นางสาว สุกัญญา มาตผล , 2558






ขั้นตอนที่  11 การนำชุดฟอนต์ของเราไปติดตั้งได้ต้องไปที่ Start > Control Panel > Font แล้ววางก็เป็นอันเสร็จ




........................................................................


เสร็จเรียบร้อย นอนดีกว่า...

Saturday, January 31, 2015

สรุปการเรียนครั้งที่ 4 ( 27/01/58 )

             อาจารย์สอนในเรื่องการใช้โปรแกรม FontCreator พื้นฐานแล้วบอกให้จัดวางงานให้เรียบร้อยก่อนส่งงานในทุกครั้ง ส่วนการบ้านให้ไปทำตัวอักษรที่อาจารย์ให้เขียนไว้และสแกน มาทำเป็นฟอนของตัวเองในโปรแกรม FontCreator ที่สั่งไว้ และ save เป็นไฟล์ ttf. โดยใช้ชื่อฟอนต์ว่า > CRU- ชื่อของตัวเอง ลงท้าย 58





Tuesday, January 27, 2015

สรุปข่าวจากหนังสือ

บทความของฟอนต์ ( Font )

   ในยุคที่คอมพิวเตอร์เติบโตและมีผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่าง รวมไปถึงการใช้ตัวอักษร
การสร้างสรรค์ฟอนต์จึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานบนคอมพิวเตอร์ และได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพและรูปลักษณ์ให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงเวลาเรื่อยมา ตลอดจนพัฒนามาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ ( Brand )  เสริมอัตลักษณ์ให้กับตัวสินค้าหรือบริการนั่นเอง ส่วนฟอนต์ คือ จุดกำเนิดที่เริ่มจากสิ่งสำคัญที่เรียกว่า ตัวอักษร  ซึ่งเป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และถือว่าเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งของชาติทีควรจะรักษาไว้ โดยแต่ก่อนนั้นการผลิตสื่อที่ต้องมีการเรียงกันของกลุ่มตัวอักษร เช่น หนังสือ หรือใบประกาศต้องอาศัยแรงงานคนในการเขียน ส่งผลให้ตัวอักษรตัวเดียวกันแต่คนละคนเขียน หรือแม้แต่เป็นคนเดิมเขียนก็ตาม มักจะให้ลักษณะของตัวอักษรที่แตกต่างกัน ทำให้มาตรฐานที่ได้ไม่เท่ากัน ด้วยเหตุที่ต้องการสร้างมาตรฐานนี้เอง ฟอนต์จึงถูกสร้างขึ้นและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนเราสามารถนำมาใช้กันได้อย่างง่ายดาย

ความสำคัญของฟอนต์
   
   เราสามารถเห็นตัวอักษรแสดงอยู่ในเกือบทุกๆสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเอกสารงานนำเสนอ หนังสือ โปรเตอร์ สินค้า บรรจุภัณฑ์ สื่อโฆษณา เว็บไซต์ และอื่นๆ อีกมากมาย ตัวอักษรบนสิ่งเหล่านี้มีจุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องการสื่อความหมายให้ผู้ที่พบเห็นได้รับรู้ แต่แค่การสื่อความหมายอย่างเดียวคงยังไม่พอโดยเฉพาะในปัจจุบันที่ผู้คนมีตัวเลือกในการใช้บริการ หรือเข้าถึงสื่อได้หลากหลายช่องทาง
ฟอนต์ก็เช่นเดียวกัน เพราะต้องทำหน้าที่เป็นสื่อให้ผู้อ่านอ่านและเข้าใจ และเมื่อพิมพ์ออกมาแล้วต้องมีความสวยงามและสอดคล้องกับเนื้อหา อีกทั้งฟอนต์ที่ดีต้องช่วยเสริมพลังให้กับความหมายที่ต้องการส่งออกไปด้วย

มูลค่าและลิขสิทธิ์ของฟอนต์


   เป็นเรื่องมีประเด็นปัญหาระหว่างผู้ใช้ฟอนต์กับผู้สร้างสรรค์ฟอนต์มากที่สุด เพราะความเข้าใจที่ผิดหลายๆ ประการทำให้ผู้ใช้หลงใช้ฟอนต์แบบผิดลิขสิทธิ์โดยที่บางครั้งก็อาจไม่ได้ตั้งใจหลายคนมีความเข้าใจว่า ตัวอักษรไทยเป็นสมบัติของชาติที่คนไทยทุกคนล้วนเป็นเจ้าของ ดังนั้น ฟอนต์จึงเป็นสมบัติของชาติที่ทุกคนล้วนเป็นเจ้าของเช่นเดียวกัน สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ผิดลิขสิทธิ์ ความเข้าใจนี้ถูกต้องเฉพาะในส่วนที่ว่าตัวอักษรไทยเป็นสมบัติของชาติที่คนไทยทุกคนล้วนเป็นเจ้าของ แต่ฟอนต์ไม่ใช่ประกอบด้วยตัวอักษรเพียงอย่างเดียวยังประกอบไปด้วยการออกแบบด้วยการออกแบบลักษณะ การเว้นระยะ และชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ต่างๆ มากมายเพื่อให้ฟอนต์ที่ออกมาสามารถนำมาใช้งานได้และสวยงาม ซึ่งขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ด้วยอาศัยเวลา รวมทั้งความรู้ความสามารถของผู้สร้างสรรค์เป็นอย่างมาก ดังนั้น ฟอนต์จึงเป็นสิ่งที่มีลิขสิทธิ์ และเราควรตระหนักถึงความสำคัญของลิขสิทธิ์เหล่านี้ เพื่อให้ผู้สร้างสรรค์มีกำลังใจและทุนทรัพย์ในการพัฒนาฟอนต์แบบใหม่ๆต่อไป

   รูปแบบและบุคลิกของตัวอักษร ( Letterform and Personality) ตัวอักษรแต่ละแบบนั้นมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ฟอนต์บางชนิดมีลักษณะที่อ่านง่ายเหมาะที่จะนำมาใช้เป็นส่วนของเนื้อหา ( body text ) ขณะที่ฟอนต์บางชนิดนั้นเด่นชัด สะดุดตา จึงเหมาะที่จะนำไปใช้เป็นข้อหัว ( headline text ) หรือข้อความสำคัญที่ต้องการเน้น ( emphasis text ) นอกเหนือจากนั้น ฟอนต์แต่ละชนิดก็มีบุคลิกที่แตกต่างกัน ฟอนต์บางชนิดดูเป็นทางการ ให้ความรู้สึกของฟอนต์ถึงอำนาจหน้าที่ ขณะที่ฟอนต์อื่นอาจดูสบายๆไม่เคร่งครัดนัก การเลือกใช้ฟอนต์จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง
    
   การออกแบบฟอนต์ขึ้นมาใหม่  แตกต่างจากการออกแบบฟอนต์ลายมือในส่วนที่ต้องอาศัยการวาดตัวอักษรผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่าง Illustrator หรือ Fontlab โดยตรง ขั้นตอนแรกของการออกแบบฟอนต์คือ การตั้ง Concept นั่นเอง ซึ่ง Concept ก็เหมือนเป็นจุดยืนว่าต้องการให้ตัวอักษรออกมามีลักษณะแบบใด ตรงกับจุดมุ่งหมายที่เราต้องการนำไปใช้หรือไม่ เช่น ต้องการทำฟอนต์สำหรับเด็กควรตั้ง Concept ให้อ่านง่าย ตัวอักษรไม่ใส่ลูกเล่นซับซ้อนมากเกินไป มีความโค้งมน และดูสดใสเหมาะกับวัยเด็ก เป็นต้น ซึ่งหากเราไม่ได้ตั้ง Concept ที่แน่นอน ตัวอักษรที่ถูกวาดขึ้นย่อมออกมาสะเปะสะปะไร้ทิศทางนั่นเอง  เมื่อตั้ง Concept ได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การวาดแบบร่างตัวอักษร หรือที่เรียกว่าสเกตซ์ตัวอักษร ( Sketch ) ขึ้นมาคร่าวๆ ซึ่งจะช่วยให้เรามองเห็นภาพร่างและภาพรวมของตัวอักษรได้ ซึ่งการสเกตซ์ตัวอักษรไว้ก่อนนำไปวาดจริงจะช่วยประหยัดเวลามากกว่าการคิดแบบไปพร้อมๆกับวาดในโปรแกรม อีกทั้งการสเกตซ์จะช่วยให้เราจดจ่อกับรูปลักษณ์ของตัวอักษรได้มากขึ้นอีกด้วย ส่วน

ความหมายของงานอักษร
        
   ความหมายของงานอักษรตามนิยามนั้นหมายถึง “ สัญลักษณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสารจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหรืออีกกลุ่มหนึ่ง ” ส่วนไทโปกราฟี ( Typography ) จะหมายถึงตัวพิมพ์ การจัดเรียง การพิมพ์  โดยที่จะมีการใช้ศิลปะในการพิมพ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ดังนั้นในความหมายของงานตัวอักษรตามหนังสือเล่มนี้ คือการใช้ศิลปะในการจัดเรียงตัวอักษรให้มีความสวยงาม น่าสนใจและยังคงไว้ซึ่งความหมายที่ต้องการจะสื่ออย่างครบถ้วน
การใช้เทคนิคการจัดเรียงตัวอักษรนอกเหนือจากการที่ผู้อ่านได้รับทราบถึงความหมายแล้ว ยังเป็นการเร้าให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในตัวสื่อ ซึ่งในบางครั้งสิ่งนี้มีความสำคัญมากกว่าสารที่อยู่ในสื่อนั้นๆเสียอีก หากเปรียบเทียบระหว่างสื่อกับอาหาร 2 จานที่เป็นเมนูเดียวกัน กินแล้วอิ่มท้องเหมือนๆกัน แต่จานที่ได้รับการปรุงตกแต่งให้ดูสวยงาม  ย่อมทำให้ผู้ทานรู้สึกอร่อยและมีความสุขมากกว่าเป็นไหนๆ งานอักษรก็เช่นเดียวกัน เอกสาร 2 ฉบับ ที่มีเนื้อความเหมือนกัน อ่านแล้วเข้าใจได้เหมือนๆกัน แต่เอกสารที่ผ่านการเลือกใช้ตัวอักษรอย่างเหมาะสม จัดวางตำแหน่งอย่างสวยงาม ย่อมดึงดูดสายตาผู้อ่านได้มาจดจ่อและเพลิดเพลินไปกับการอ่านตั้งแต่ต้นจนจบอย่างสมบูรณ์


ลักษณะของงานอักษรในปัจจุบัน
   งานอักษรในปัจจุบันมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ที่สูงขึ้น ประกอบกับซอฟต์แวร์ช่วยอำนวยความสะดวกรวมทั้งระบบอินเทอร์เน็ตที่ช่วยในการหาข้อมูลหรือไอเดียใหม่ๆทำได้โดยง่าย สิ่งต่างๆเหล่านี้เองที่ช่วยเสริมให้เราสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ดังใจ และประหยัดเวลาทำงานลงไปได้อีกมาก 


หน้าสืออ้างอิง
จุติพงศ์ ภูสุมาศ. (2556). The Principles of Typography พื้นฐานการใช้งานตัวอักษร. นนทบุรี: ไอดีซีฯ.       
ธวัชชัย ศรีสุเทพ. (2549).ฟอนต์ไหนดี ?. กรุงเทพมหานคร: มาร์คมายเว็บ.




สรุปเนื้อหาโดย
นางสาว สุกัญญา มาตผล
รหัสนักศึกษา 5611310615  กลุ่มเรียน 101
E-mail : sukanyam2558@gmail.com
Publish : http://artd2304-sukanya.blogspot.com


รายงานวิชา ARTD2304 การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์

สรุปการเรียนครั้งที่ 3 ( 20/01/ 58 )


         อาจารย์ให้ไปออกแบบโลโก้ เพื่อการนำไปประกอบของทางมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร หมดเขตส่งในวันที่ 28 ก.พ. คือต้องทำทุกคนเพราะมันเป็นการสอบกลางภาค สอนในเรื่องการใช้ Font Lab
โดยที่เอาแบบตัวอักษรที่สแกนลงเครื่องเป็น  jpq. ลงไปในphotoshop/illustrato ก็ได้แล้วครอปรูปภาพฟอนต์จากนั้นนำมาวางในฟอนต์แลป มันจะ apply เฉพาะตัวฟอนต์ สามารถตกแต่ง ลบส่วนเกินของฟอนต์ได้


การบ้าน

ให้ไปดูรายละเอียดของการบ้านครั้งที่1 หาคำว่า การออกแบบตัวพิมพ์ ( Type Design จงแปล อ้างอิง และสรุปประเด็น แล้วเรียบเรียงเป็นความเรียงความหมายเป็นของตนเองแล้วส่งทาง GoogleDoc แล้วแชร์ส่งในโฟลเดอร์ที่อาจารย์แบ่งปันให้พร้อมกับโพสลงบล็อกบันทึกผลการเรียนรู้ของตนเองพร้อมจัดหาภาพประกอบให้สอดคล้องกับสาระที่อ้างอิงทางปริ้นรูปเล่มส่งด้วย
กำหนดส่ง 25 มกราคม 2558

Thursday, January 15, 2015

สรุปการเรียนครั้งที่ 2 (13/01/58 )

        อ.ประชิตทบทวนให้ในเรื่องการแก้ไขข้อมูลใน gmail (เพิ่มเตืม)และครั้งต่อไปจะปิดในการให้แก้ไขข้อมูล เช่น อีเมล์และบล็อกแล้วพร้อมกับเปิดวิดีโอสอนการทำธีมและใส่ข้อความหรือโค้ดต่างๆลงไปใน blogger ด้วยสอนในเรื่องการสร้าง drive และใส่รูปภาพหรือผลงานของตัวเองลงไปในโฟรเดอร์ที่สร้างขึ้นและบอกซอฟแวร์ ( โปรแกรม )ที่เราจะต้องเรียนกัน fontlab studio 5.0.4 , High-Logic FontCreator , fontforge , fontstruct ( online )

การบ้าน

-ให้ไปหาฟอนต์ของเว็บ www.chandrakasem.onfo (มหาลัยราชภัฏจันทรเกษม )ทั้งหมดโหลดลงคอมแล้วเอาลงในแฟลชไดซ์ตัวเองเก็บไว้

- เขียน unicode ใส่ใน templateแล้วสแกนลงคอมเป็นไฟล์. jpg นำไปใส่ในแฟลชไดซ์ตัวเองเก็บไว้