Saturday, January 31, 2015

สรุปการเรียนครั้งที่ 4 ( 27/01/58 )

             อาจารย์สอนในเรื่องการใช้โปรแกรม FontCreator พื้นฐานแล้วบอกให้จัดวางงานให้เรียบร้อยก่อนส่งงานในทุกครั้ง ส่วนการบ้านให้ไปทำตัวอักษรที่อาจารย์ให้เขียนไว้และสแกน มาทำเป็นฟอนของตัวเองในโปรแกรม FontCreator ที่สั่งไว้ และ save เป็นไฟล์ ttf. โดยใช้ชื่อฟอนต์ว่า > CRU- ชื่อของตัวเอง ลงท้าย 58





Tuesday, January 27, 2015

สรุปข่าวจากหนังสือ

บทความของฟอนต์ ( Font )

   ในยุคที่คอมพิวเตอร์เติบโตและมีผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่าง รวมไปถึงการใช้ตัวอักษร
การสร้างสรรค์ฟอนต์จึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานบนคอมพิวเตอร์ และได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพและรูปลักษณ์ให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงเวลาเรื่อยมา ตลอดจนพัฒนามาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ ( Brand )  เสริมอัตลักษณ์ให้กับตัวสินค้าหรือบริการนั่นเอง ส่วนฟอนต์ คือ จุดกำเนิดที่เริ่มจากสิ่งสำคัญที่เรียกว่า ตัวอักษร  ซึ่งเป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และถือว่าเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งของชาติทีควรจะรักษาไว้ โดยแต่ก่อนนั้นการผลิตสื่อที่ต้องมีการเรียงกันของกลุ่มตัวอักษร เช่น หนังสือ หรือใบประกาศต้องอาศัยแรงงานคนในการเขียน ส่งผลให้ตัวอักษรตัวเดียวกันแต่คนละคนเขียน หรือแม้แต่เป็นคนเดิมเขียนก็ตาม มักจะให้ลักษณะของตัวอักษรที่แตกต่างกัน ทำให้มาตรฐานที่ได้ไม่เท่ากัน ด้วยเหตุที่ต้องการสร้างมาตรฐานนี้เอง ฟอนต์จึงถูกสร้างขึ้นและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนเราสามารถนำมาใช้กันได้อย่างง่ายดาย

ความสำคัญของฟอนต์
   
   เราสามารถเห็นตัวอักษรแสดงอยู่ในเกือบทุกๆสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเอกสารงานนำเสนอ หนังสือ โปรเตอร์ สินค้า บรรจุภัณฑ์ สื่อโฆษณา เว็บไซต์ และอื่นๆ อีกมากมาย ตัวอักษรบนสิ่งเหล่านี้มีจุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องการสื่อความหมายให้ผู้ที่พบเห็นได้รับรู้ แต่แค่การสื่อความหมายอย่างเดียวคงยังไม่พอโดยเฉพาะในปัจจุบันที่ผู้คนมีตัวเลือกในการใช้บริการ หรือเข้าถึงสื่อได้หลากหลายช่องทาง
ฟอนต์ก็เช่นเดียวกัน เพราะต้องทำหน้าที่เป็นสื่อให้ผู้อ่านอ่านและเข้าใจ และเมื่อพิมพ์ออกมาแล้วต้องมีความสวยงามและสอดคล้องกับเนื้อหา อีกทั้งฟอนต์ที่ดีต้องช่วยเสริมพลังให้กับความหมายที่ต้องการส่งออกไปด้วย

มูลค่าและลิขสิทธิ์ของฟอนต์


   เป็นเรื่องมีประเด็นปัญหาระหว่างผู้ใช้ฟอนต์กับผู้สร้างสรรค์ฟอนต์มากที่สุด เพราะความเข้าใจที่ผิดหลายๆ ประการทำให้ผู้ใช้หลงใช้ฟอนต์แบบผิดลิขสิทธิ์โดยที่บางครั้งก็อาจไม่ได้ตั้งใจหลายคนมีความเข้าใจว่า ตัวอักษรไทยเป็นสมบัติของชาติที่คนไทยทุกคนล้วนเป็นเจ้าของ ดังนั้น ฟอนต์จึงเป็นสมบัติของชาติที่ทุกคนล้วนเป็นเจ้าของเช่นเดียวกัน สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ผิดลิขสิทธิ์ ความเข้าใจนี้ถูกต้องเฉพาะในส่วนที่ว่าตัวอักษรไทยเป็นสมบัติของชาติที่คนไทยทุกคนล้วนเป็นเจ้าของ แต่ฟอนต์ไม่ใช่ประกอบด้วยตัวอักษรเพียงอย่างเดียวยังประกอบไปด้วยการออกแบบด้วยการออกแบบลักษณะ การเว้นระยะ และชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ต่างๆ มากมายเพื่อให้ฟอนต์ที่ออกมาสามารถนำมาใช้งานได้และสวยงาม ซึ่งขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ด้วยอาศัยเวลา รวมทั้งความรู้ความสามารถของผู้สร้างสรรค์เป็นอย่างมาก ดังนั้น ฟอนต์จึงเป็นสิ่งที่มีลิขสิทธิ์ และเราควรตระหนักถึงความสำคัญของลิขสิทธิ์เหล่านี้ เพื่อให้ผู้สร้างสรรค์มีกำลังใจและทุนทรัพย์ในการพัฒนาฟอนต์แบบใหม่ๆต่อไป

   รูปแบบและบุคลิกของตัวอักษร ( Letterform and Personality) ตัวอักษรแต่ละแบบนั้นมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ฟอนต์บางชนิดมีลักษณะที่อ่านง่ายเหมาะที่จะนำมาใช้เป็นส่วนของเนื้อหา ( body text ) ขณะที่ฟอนต์บางชนิดนั้นเด่นชัด สะดุดตา จึงเหมาะที่จะนำไปใช้เป็นข้อหัว ( headline text ) หรือข้อความสำคัญที่ต้องการเน้น ( emphasis text ) นอกเหนือจากนั้น ฟอนต์แต่ละชนิดก็มีบุคลิกที่แตกต่างกัน ฟอนต์บางชนิดดูเป็นทางการ ให้ความรู้สึกของฟอนต์ถึงอำนาจหน้าที่ ขณะที่ฟอนต์อื่นอาจดูสบายๆไม่เคร่งครัดนัก การเลือกใช้ฟอนต์จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง
    
   การออกแบบฟอนต์ขึ้นมาใหม่  แตกต่างจากการออกแบบฟอนต์ลายมือในส่วนที่ต้องอาศัยการวาดตัวอักษรผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่าง Illustrator หรือ Fontlab โดยตรง ขั้นตอนแรกของการออกแบบฟอนต์คือ การตั้ง Concept นั่นเอง ซึ่ง Concept ก็เหมือนเป็นจุดยืนว่าต้องการให้ตัวอักษรออกมามีลักษณะแบบใด ตรงกับจุดมุ่งหมายที่เราต้องการนำไปใช้หรือไม่ เช่น ต้องการทำฟอนต์สำหรับเด็กควรตั้ง Concept ให้อ่านง่าย ตัวอักษรไม่ใส่ลูกเล่นซับซ้อนมากเกินไป มีความโค้งมน และดูสดใสเหมาะกับวัยเด็ก เป็นต้น ซึ่งหากเราไม่ได้ตั้ง Concept ที่แน่นอน ตัวอักษรที่ถูกวาดขึ้นย่อมออกมาสะเปะสะปะไร้ทิศทางนั่นเอง  เมื่อตั้ง Concept ได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การวาดแบบร่างตัวอักษร หรือที่เรียกว่าสเกตซ์ตัวอักษร ( Sketch ) ขึ้นมาคร่าวๆ ซึ่งจะช่วยให้เรามองเห็นภาพร่างและภาพรวมของตัวอักษรได้ ซึ่งการสเกตซ์ตัวอักษรไว้ก่อนนำไปวาดจริงจะช่วยประหยัดเวลามากกว่าการคิดแบบไปพร้อมๆกับวาดในโปรแกรม อีกทั้งการสเกตซ์จะช่วยให้เราจดจ่อกับรูปลักษณ์ของตัวอักษรได้มากขึ้นอีกด้วย ส่วน

ความหมายของงานอักษร
        
   ความหมายของงานอักษรตามนิยามนั้นหมายถึง “ สัญลักษณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสารจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหรืออีกกลุ่มหนึ่ง ” ส่วนไทโปกราฟี ( Typography ) จะหมายถึงตัวพิมพ์ การจัดเรียง การพิมพ์  โดยที่จะมีการใช้ศิลปะในการพิมพ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ดังนั้นในความหมายของงานตัวอักษรตามหนังสือเล่มนี้ คือการใช้ศิลปะในการจัดเรียงตัวอักษรให้มีความสวยงาม น่าสนใจและยังคงไว้ซึ่งความหมายที่ต้องการจะสื่ออย่างครบถ้วน
การใช้เทคนิคการจัดเรียงตัวอักษรนอกเหนือจากการที่ผู้อ่านได้รับทราบถึงความหมายแล้ว ยังเป็นการเร้าให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในตัวสื่อ ซึ่งในบางครั้งสิ่งนี้มีความสำคัญมากกว่าสารที่อยู่ในสื่อนั้นๆเสียอีก หากเปรียบเทียบระหว่างสื่อกับอาหาร 2 จานที่เป็นเมนูเดียวกัน กินแล้วอิ่มท้องเหมือนๆกัน แต่จานที่ได้รับการปรุงตกแต่งให้ดูสวยงาม  ย่อมทำให้ผู้ทานรู้สึกอร่อยและมีความสุขมากกว่าเป็นไหนๆ งานอักษรก็เช่นเดียวกัน เอกสาร 2 ฉบับ ที่มีเนื้อความเหมือนกัน อ่านแล้วเข้าใจได้เหมือนๆกัน แต่เอกสารที่ผ่านการเลือกใช้ตัวอักษรอย่างเหมาะสม จัดวางตำแหน่งอย่างสวยงาม ย่อมดึงดูดสายตาผู้อ่านได้มาจดจ่อและเพลิดเพลินไปกับการอ่านตั้งแต่ต้นจนจบอย่างสมบูรณ์


ลักษณะของงานอักษรในปัจจุบัน
   งานอักษรในปัจจุบันมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ที่สูงขึ้น ประกอบกับซอฟต์แวร์ช่วยอำนวยความสะดวกรวมทั้งระบบอินเทอร์เน็ตที่ช่วยในการหาข้อมูลหรือไอเดียใหม่ๆทำได้โดยง่าย สิ่งต่างๆเหล่านี้เองที่ช่วยเสริมให้เราสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ดังใจ และประหยัดเวลาทำงานลงไปได้อีกมาก 


หน้าสืออ้างอิง
จุติพงศ์ ภูสุมาศ. (2556). The Principles of Typography พื้นฐานการใช้งานตัวอักษร. นนทบุรี: ไอดีซีฯ.       
ธวัชชัย ศรีสุเทพ. (2549).ฟอนต์ไหนดี ?. กรุงเทพมหานคร: มาร์คมายเว็บ.




สรุปเนื้อหาโดย
นางสาว สุกัญญา มาตผล
รหัสนักศึกษา 5611310615  กลุ่มเรียน 101
E-mail : sukanyam2558@gmail.com
Publish : http://artd2304-sukanya.blogspot.com


รายงานวิชา ARTD2304 การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์

สรุปการเรียนครั้งที่ 3 ( 20/01/ 58 )


         อาจารย์ให้ไปออกแบบโลโก้ เพื่อการนำไปประกอบของทางมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร หมดเขตส่งในวันที่ 28 ก.พ. คือต้องทำทุกคนเพราะมันเป็นการสอบกลางภาค สอนในเรื่องการใช้ Font Lab
โดยที่เอาแบบตัวอักษรที่สแกนลงเครื่องเป็น  jpq. ลงไปในphotoshop/illustrato ก็ได้แล้วครอปรูปภาพฟอนต์จากนั้นนำมาวางในฟอนต์แลป มันจะ apply เฉพาะตัวฟอนต์ สามารถตกแต่ง ลบส่วนเกินของฟอนต์ได้


การบ้าน

ให้ไปดูรายละเอียดของการบ้านครั้งที่1 หาคำว่า การออกแบบตัวพิมพ์ ( Type Design จงแปล อ้างอิง และสรุปประเด็น แล้วเรียบเรียงเป็นความเรียงความหมายเป็นของตนเองแล้วส่งทาง GoogleDoc แล้วแชร์ส่งในโฟลเดอร์ที่อาจารย์แบ่งปันให้พร้อมกับโพสลงบล็อกบันทึกผลการเรียนรู้ของตนเองพร้อมจัดหาภาพประกอบให้สอดคล้องกับสาระที่อ้างอิงทางปริ้นรูปเล่มส่งด้วย
กำหนดส่ง 25 มกราคม 2558

Thursday, January 15, 2015

สรุปการเรียนครั้งที่ 2 (13/01/58 )

        อ.ประชิตทบทวนให้ในเรื่องการแก้ไขข้อมูลใน gmail (เพิ่มเตืม)และครั้งต่อไปจะปิดในการให้แก้ไขข้อมูล เช่น อีเมล์และบล็อกแล้วพร้อมกับเปิดวิดีโอสอนการทำธีมและใส่ข้อความหรือโค้ดต่างๆลงไปใน blogger ด้วยสอนในเรื่องการสร้าง drive และใส่รูปภาพหรือผลงานของตัวเองลงไปในโฟรเดอร์ที่สร้างขึ้นและบอกซอฟแวร์ ( โปรแกรม )ที่เราจะต้องเรียนกัน fontlab studio 5.0.4 , High-Logic FontCreator , fontforge , fontstruct ( online )

การบ้าน

-ให้ไปหาฟอนต์ของเว็บ www.chandrakasem.onfo (มหาลัยราชภัฏจันทรเกษม )ทั้งหมดโหลดลงคอมแล้วเอาลงในแฟลชไดซ์ตัวเองเก็บไว้

- เขียน unicode ใส่ใน templateแล้วสแกนลงคอมเป็นไฟล์. jpg นำไปใส่ในแฟลชไดซ์ตัวเองเก็บไว้

Tuesday, January 13, 2015

แปล-สรุปบทความ (ข่าว)

ชื่อฟอนต์ Bron Shadline
เขียนโดย Jeremia Adatte


Bron Shadline เป็นกึ่งโครงร่างและการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักเบาอักษร Bron เดิมเค้าร่างเพิ่มความมีชีวิตชีวาพิเศษคมชัดมากขึ้นและยังมีสองชั้นแบบอักษรที่แยกต่างหากที่จะมีองค์ประกอบหลายสี ความเป็นไปได้ของการแก้ไขตัวอักษรนี้จะไม่มีที่สิ้นสุด  Bron ได้ใช้ดำสองสีหนึ่งจะเพิ่มชั้นที่สามเป็นพิเศษและสามารถนำมาใช้ในการสร้างแยกต่างหากได้ แม้ผลกระทบที่จะลึกซึ้งยิ่งขึ้นของ Bron Shadline จะเต็มไปด้วยชุดอักขระขยายสนับสนุนกลางตะวันตกและภาษายุโรปตะวันออก
...................................................................................................................................

Bron Shadline is the semi-outline and lighter variation of the original Bron typeface. The outline adds an extra vibrancy, more contrast and bring a special shading effect out. The Shadline version has also two separate layered fonts to make your own multi-color compositions. Possibilities of editing the font are infinite : even use Bron Black Two Color One to add an extra third layer. These can be used separately to create even more subtle effects. Bron Shadline is packed with an extended character set, supporting Central, Western and Eastern European languages.
คำแปลโดยตรงที่ใช้เครื่องมือแปลของ Google translate
Bron Shadline เป็นกึ่งโครงร่างและการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักเบาอักษร Bron เดิมเค้าร่างเพิ่มความมีชีวิตชีวาพิเศษคมชัดมากขึ้นและนำผลกระทบแรเงาพิเศษออกรุ่น Shadline ยังมีสองชั้นแบบอักษรที่แยกต่างหากที่จะทำให้คุณเององค์ประกอบหลายสี ความเป็นไปได้ของการแก้ไขตัวอักษรที่ไม่มีที่สิ้นสุด: ได้ใช้ Bron ดำสองสีหนึ่งที่จะเพิ่มชั้นที่สามเป็นพิเศษ เหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการสร้างแยกต่างหากแม้ผลกระทบที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น Bron Shadline จะเต็มไปด้วยชุดอักขระขยายสนับสนุนกลางตะวันตกและภาษายุโรปตะวันออก


แปลสรุปโดย : นางสาวสุกัญญา มาตผล
รหัสนักศึกษา : 5611310615
E-mail : sukanyam2558@gmail.com
Publish Blog : http://artd2304-sukanya.blogspot.com/

Tuesday, January 6, 2015

สรุปการเรียนครั้งที่ 1 ( 6 / 01 / 58 )

      อาจารย์ประชิต แนะนำเกี่ยวกับวิชา การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์จะเรียนเกี่ยวกับตัวอักษร ต้นตอของการสร้างฟอนต์ต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง โดยรายละเอียดทั้งหมดจะอยู่ใน http://typefacesdesign.blogspot.com ( เว็บบล็อกบันทึกและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้วิชา การออก
แบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ Lettering,Font & Typefaces Design KM 
Site )  ถ้าอยากรู้รายละเอียดของวิชานี้ กดไป มคอ : TQF ให้นักศึกษาติดตาม ผลงานเรียนรู้ด้วยตัวเอง (เผยแพร่ความรู้ ) โดยงานทุกอย่างจะต้องมีการสรุปเล่ม วิธีขั้นตอน สรุป ( กระบวนการ ) หรือเรียกกันว่า 3 ส. คือ สืบคว้า สร้างสรรค์ผลงาน และสรุป


การบ้าน

- สร้าง gmail.com ตั้งชื่อจริงนำหน้าชื่อเมล์  ( ภาษาอังกฤษ )
 เช่น grachid2009@gmail.com ( เมล์อาจารย์ประชิต )
- สร้าง blogs ตั้งชื่อบอร์ดของตัวเอง รหัสวิชา - ชื่อตัวเอง เช่น  ARTD2304-Sukanya
 แล้วบันทึกความรู้


- เข้า http://typefacesdesign.blogspot.com แล้วกดไปที่ E-Learning Acts  กลุ่ม 101 ภาคปกติ คลิกเข้าไปดู และ เปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ถูกต้องได้ ใส่อีเมล์ของตัวเอง ที่เป็นที่อยู่ gmail.com  เท่านั้น ตรงช่องชื่อจริงนำหน้าที่อยู่อีเมล์ และ ตรงช่อง ที่อยู่เว็บไซต์สากลประจำวิชา -ที่อยู่เว็บไซต์นักศึกษาสรุป-แสดงการจัดการความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในรายวิชา artd2304

- ให้ ลองออกแบบตัวอักษรในกระดาษที่อาจารย์แจกให้ มีทั้งหมดอยู่ 3 ชุด
เขียนทั้ง ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ 
ชุดแรก เขียน ตัวบรรจง
ชุดสอง  ฟรีแฮน
ชุดสาม ให้คนในครอบครัวเขียนลองเขียนบ้าง
เสร็จแล้วสแกนลงคอมเป็นไฟล์ jpg. หรือลงทรัมไดร์เก็บไว้

- เสร็จก็คลิกลงทะเบียนในระบบอีเลิร์นนิ่ง เข้าเรียน เข้าสอบออนไลน์ คลิกเข้าใช้ที่นี่ 

http://www.thaiteachers.info/claroline การสมัครเข้าให้ตั้งชื่อ อังกฤษผสมตัวเลข ไม่เกิน 8 ตัวอักษร ( มาตรฐาน )

อุปกรณ์ที่เตรียมมาในสัปดาห์หน้า

- ดินสอ 2 B
- ไม้บรรทัด
- กระดาษกราฟ
- กระดาษไข
- ปากกาสีดำ หัวเบอร์ 8 ขึ้นไป


และแปลสรุปข่าวเกี่ยวกับตัวอักษรที่นักศึกษาสนใจจากแหล่งต่างๆในเว็บไซต์
บันทึกลงใบบอร์ดของตัวเอง